โรคและแมลง



ราแป้งของมะขาม
สำหรับมะขามหวานต้นเล็กยังไม่ออกผล อายุ 1-3 ปี ควรให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัมต่อต้น (ประมาณ 1 กระป๋อง นม) ในปีแรกแบ่งใส่ 3 ครั้ง (4 เดือนต่อครั้ง) จำนวน 100, 150, 200 กรัม ตามลำดับ สำหรับปีต่อ ๆ ไป ให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตาม จำนวนอายุที่มากขึ้น เมื่อมะขามตกผลแล้วควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝน และปลายฝน ซึ่งจะช่วยให้มีการติดผลมากขึ้น และเพิ่มความหวานด้วย อัตราที่ใส่คำนวณจากสูตรดังนี้
จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กก.) = อายุต้นมะขาม /2
เช่น ถ้าต้นมะขามอายุ 2 ปี จะต้องใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 จำนวน จำนวน = 2/2 = 1 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่ต้นฝน .5 กิโลกรัม และปลายฝนอีก .5 กิโลกรัม
หนอนเจาะลำต้นและกิ่ง
หนอนชนิดนี้จะเข้าทำลายกิ่งมะขาม โดยทำลายกิ่งที่ค่อนข้างเล็กเป็นส่วนใหญ่ ทำให้กิ่งแห้งตาย
การป้องกันกำจัด ตัดกิ่งที่ถูกหนอนทำลายไปเผา หมั่นตรวจดูสภาพกิ่งและลำต้นของมะขาม หากพบเป็นรูและมีร่องรอย การทำลายคือเป็นขุย ๆ ให้ใช้สารเคมีฆ่าแมลงประเภทดูดซึมเข้าไปในรูแล้วเอาดินเหนียวอุดไว้
หนอนเจาะฝัก
เกิดจากผีเสื้อวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 2-3 ฟอง ที่ใบหรือฝักมะขามเมื่อฟักออกมาเป็นตัวหนอน ๆ จะเจาะเข้าไปในฝัก โดย กินบริเวณผิวเปลือกก่อน จากนั้นจะเจาะกินเข้าไปภายในฝัก
การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูฝักที่ถูกหนอนทำลาย ซึ่งร่วงหล่นตามโคนต้น ให้เก็บไปเผาหรือทำลาย และใช้สารเคมีฆ่า แมลงกลุ่มคาร์บาริล (carbaryl) พ่นป้องกันในระยะที่ฝักมะขามยังอ่อน
หนอนปลอก
เกิดจากผีเสื้อกลางคืน ตัวผู้มีขนาดเล็ก มีหนวดคล้ายแปรงหวีผม แต่ตัวเมียไม่มีปีกและขา อาศัยและวางไข่อยู่ในปลอด เมื่อไข่ฟักเป็นตัว ตัวอ่อนจะออกมาแทะเล็มและกัดกินใบมะขามพร้อมกับทำรังหุ้มตัวและเกาะอยู่ใต้ใบหรือตามก้านใบ
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีฆ่าแมลงกลุ่มไตรคลอร์ฟอน (trichlorfon)
หนอนบุ้ง
ทำลายที่ใบ ระบาดมากในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในแปลงขยายพันธุ์หรือต้นพันธุ์ที่ชำไว้ซึ่กำลังแตกใบอ่อน
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีพวกพาราไธออน (parathion)
เพลี้ยต่างๆ
ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบและฝัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ฝักมะขามแตกได้
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีพวกพาราไธออน (parathion)
ไร
ลักษณะการทำลายคล้ายกับพวกเพลี้ย
การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีพวกไดโคฟอล (dicofol)