ลักษณะพันธ์มะขาม

มะขามหวานจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนที่ใด คือรสชาดหอมหวานอร่อย เนื้อแน่น มะขามที่ปลูกในจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 30 พันธุ์ แต่พันธุ์ที่ปลูกเป็นหลัก มี 7 พันธุ์ ได้แก่
พันธุ์หมื่นจง
พันธุ์สีทอง
พันธุ์สีชมภู
พันธุ์ขันตี
พันธุ์น้ำผึ้ง
พันธุ์ประกายทอง
พันธุ์อินทผาลัม
"มะขามหวานเพชรบูรณ์" ขึ้นชื่อว่าเป็นมะขามหวานที่มีรสชาดที่หวานอร่อยที่สุดในโลก และจัดว่าเป็น พืชเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรเจ้าของสวนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน




มะขามหวานพันธุ์ประกายทอง (พันธุ์ตาแป๊ะ)จัดเป็นมะขามหวานสายพันธุ์เบา โดยมีต้น กำเนิดอยู่ที่ บ้านโป่งตาเป้า อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ โดยนายเจียง แซ่เฮง ได้นำเมล็ดมาเพาะพันธุ์กระทั่ง ให้ผลผลิต โดยมีรสชาติหวาน หอมอร่อย และได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมาก สำหรับกษณะลำต้น ผิวเปลือกออกสีน้ำตาล ผิวหยาบ ใบหนา เข้ม ปลายใบตัด หยัก ส่วนลักษณะฝักมีขนาดยาวใหญ่ค่อนข้าง ตรง กลม เปลือกฝักบาง ผิวเรียบเป็นสีน้ำตาล ในขณะที่สีเนื้อเป็นสีน้ำผึ้งออกทรายแดงและเนื้อหนา ตกทราย รสหอมหวาน รกหุ้มเนื้อน้อย เมล็ดเล็ก ช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนธันวาคม ปัจจุบันต้นแม่พันธุ์ยังอยู่ที่สวนมะขามหวานประกายทอง (ไร่ตาแป๊ะเจียง) บ้านโป่งตาเป้า อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์ โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2537 ในงานมหกรรมส่งเสริมการเกษตร ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติ สิริกิติ์ ทางกรมส่งเสริมการเกษตรได้ประกาศรับรองมะขามหวานพันธุ์ประกายทอง ให้เป็นมะขามหวาน พันธุ์ส่งเสริม กรมส่งเสริมการเกษตร ขณะเดียวกันนายเจียง แซ่เฮง ซึ่งปัจจุบันอายุ 71 ปี ได้เข้ารับโล่ ประกาศเกียรติคุณด้วย


พันธุ์หมื่นจง ต้นเดิมปัจจุบันอยู่ที่หมู่ที่ 5 ตำบลหล่มเก่า (เยื้องวัดสระเกศ) อายุประมาณ 150 ปี ปลูกโดยหมื่นจงประชากิจ (ฉิม พุทธสิมมา) ไม่มีหลักฐานว่าหมื่นจงประชากิจได้นำพันธุ์มา จากที่ใด ปัจจุบันโคนต้นโตประมาณ 3 คนจับมือกันจึงจะรอบต้น กิ่งก้านถูกตัดทิ้งมากเพราะปกคลุม หลังคาบ้าน และยังได้ผลอย่างสม่ำเสมอ ลักษณะฝักโค้งเกือบครึ่งวงกลมมีความหวานจัด มีเปอร์เซนต์ น้ำตาล 42.00 % มีกรดทาทาริด 1.90 % ลักษณะใบใหญ่สีเขียวสด เปลือกลำต้นสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ฝักโค้งใหญ่แทบจรดกันเป็นรูปวงฆ้อง รสชาติหวานสนิท เนื้อหนาเมล็ดเล็กและเนื้อล่อน เมื่อสุกงอม จะมีสีน้ำตาลเข้ม ส่วนข้อเสียฝักมักแตกเนื่องจากโครงสร้างของเปลือกไม่ดี จนเป็นลักษณะประจำ สายพันธุ์ และด้วยสาเหตุดังกล่าวทำให้ไม่ได้รับความนิยมจากเกษตรกร ในการแพร่ขยายพันธุ์ จนส่งผลให้ปัจจุบันมะขามหวานในสายพันธุ์นี้เกือบจะสูญพันธุ์แล้ว..


มะขามหวานพันธุ์ปากดุก เป็นสายพันธุ์มะขามหวานที่กลายพันธุ์มาจากการเพาะเมล็ด โดยมี ต้นกำเนิดที่ตำบลปากดุก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ลักษณะของใบปกติไม่ใหญ่ เหมือนพันธุ์หมื่นจง ฝักมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตรงมากกว่าพันธุ์อื่น คล้ายพันธุ์อินทผาลัมแต่สั้นกว่า ข้างฝักเป็นสันเห็น ชัดเจน เปลือกสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลออกเทา รสหวานอมเปรี้ยว คล้ายอินทผาลัม แต่เนื้อไม่เหนียว และ ค่อนข้างจะร่วนซุย เมล็ดมีขนาดใหญ่ ล่อน ดกพอกับพันธุ์ศรีชมภู แต่แพ้พันธุ์อินทผาลัมและ พันธุ์ขันตี ราคาไม่เด่นและเกษตรกรไม่นิยมปลูก....มะขามหวานพันธุ์อินทผาลัม เดิมเรียกพันธุ์หนองเล เนื่องจากมีถิ่นกำเนิดที่บ้านหนองเล อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ โดยมีการสันนิษฐานว่าเป็นสายพันธุ์ ที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมื่นจงหรือพันธุ์ปากดุก ลำต้นจะมีลายแตกของเปลือกพอๆกับพันธุ์หมื่นจง แต่หยาบกว่าพันธุ์ขันตีทรงพุ่มกลมเป็นทรงกระบอก โครงสร้างของทรงพุ่มแน่น ใบวีเขียวเข้ม ใหญ่ และทึบ ยอดอ่อนที่เริ่มแตกออกมาจะเป็นสีเขียวอ่อน ซึ่งผิดแผกไปจากมะขามหวานพันธุ์อื่น ลักษณะ ฝักแบนเรียบค่อนข้างกลมฝักตรง เนื้อมีสีน้ำตาลคล้ำค่อนข้าวงเหนียว เนื้อมากฉ่ำไม่แห้ง ที่เด่นมากคือ ออกดอกทุกปีเพราะเป็นพันธุ์เบา เนื่องจากเนื้อหวานเหมือนผลไม้จากทะเลทราย จึงมีการส่งออก จำหน่ายไปยังตลาดต่างประเทศในแถบตะวันออกกลาง...



มะขามหวานพันธุ์ศรีชมภู จัดเป็นมะขามหวานสายพันธุ์เบา ลำต้นเปลือกสีน้ำตาลเทาหรือ น้ำตาล ลายแตกของเปลือกจะหยาบ ท้องของกิ่งเป็นร่อง ทรงพุ่มตั้งตรงขึ้นไม่แผ่ออก ทรงคล้ายฉัตร กิ่งสั้นอวบ ใบสีเขียวเข้ม ยอดอ่อนมีสีแดงจัดและค่อยๆจางลงเรื่อยๆจนเป็นสีชมพู ออกดอกประมาณ ปลายเดือนพฤษภาคม ฝักแก่เก็บได้ประมาณต้นเดือนธันวาคม ฝักแก่สังเกตุได้ที่ท้องเริ่มยุบลง ส่วนฝัก ที่ไม่แก่เมล็ดจะดำและกลม พอเริ่มแก่เมล็ดจะเป็นสีน้ำตาลหรือดำ เปลือกจะเปลี่ยนสีจากน้ำตาลเป็นสี เทาหม่น ก้านฝักจะเริ่มเหี่ยวลงแสดงว่าเริ่มแก่แล้ว ลักษณะฝักทั่วไปเป็นมะขามที่มีลักษณะฝักตรงยาว บริเวณส่วนอกของฝักจะเป็นร่องแบน เรียกว่า "ฝักอกร่อง" เปลือกฝักบาง เนื้อเหนียวหนา หวานและ มีกลิ่นหอม เมล็ดล่อน รกหุ้มเนื้อน้อยมาก สำหรับข้อเสียของมะขามหวานสายพันธุ์นี้คือ จะมีความ แปรปรวนของรสชาติไปมาก เมื่อสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลง นอกจากนั้นเนื่องจากเปลือกฝักบาง จึงทำให้ฝักแตกเสียหายง่าย แต่ทั้งนี้ก็จัดว่าเป็นมะขามหวานสายพันธุ์เศรษฐกิจที่เกษตรกรชาว เพชรบูรณ์ให้ความนิยมปลูกกันมาก..

มะขามหวานพันธุ์สีทอง เป็นมะขามที่กลายพันธุ์มาจากพันธุ์หมื่นจง โดยเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นสายพันธุ์มะขามหวานที่ดีเยี่ยม โดยนายประหยัด กองมูล เกษตรกรชาวอำเภอหล่มเก่า จังหวัด เพชรบูรณ์เป็นผู้ค้นพบ สำหรับลักษณะลำต้นเปลือกมีสีค่อนข้างขาวนวล รอยแตกของเปลือกละเอียด ใบมีขนาดใหญ่ทรงพุ่มเอาแน่นอนไม่ได้ เพราะการแตกกิ่งก้านออกมา ไม่ค่อยเป็นระเบียบ ลักษณะฝักโค้ง ใหญ่และยาว เปลือกฝักมีสีออกขาวนวล เนื้อหนาและมีสีเหลืองทอง รสหวานจัด โดยจัดว่าเป็นมะขาม หวานพันธุ์หนักอีกสายพันธุ์หนึ่ง โดยฝักจะสุกงอมและเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวได้ในราวเดือน กุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม